จิต (อังกฤษ: mind) หรือจิตใจ คือ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา ความสำนึก ความมีสติ แต่ความคิดเป็นองค์ประกอบสำคัญของจิตใจที่สามารถรู้เห็นได้ กำกับและควบคุมอย่างชัดเจน บางครั้งจึงใช้คำว่า "ความคิด" แทน
มีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่กล่าวถึงการทำงานของจิต ทั้งจากเพลโต อริสโตเติล หรือแม้แต่นักปรัชญาชาวกรีกและอินเดีย ก่อนที่จะมีวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีจะเน้นไปทางปรัชญาหรือศาสนา แต่ทฤษฎีสมัยใหม่ จะอาศัยวิทยาศาสตร์ในการอธิบายการทำงานของสมอง
จิต ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่เรียกว่าอยู่นอกเหนื่อความคิด เหตุผล ตรรกะ จิตสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความคิด กับปัญญาญาณ
จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น
จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ
จิต นั้นถ้าพยายามหาตัวหาตนว่าเป็นอะไร
อยู่ที่ใดแล้ว
โดยไม่เข้าใจธรรมหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ) แล้วก็จะเป็นดังที่ท่านหลวงปู่ดูลย์
อตุโล ได้กล่าวแสดงไว้ในเรื่อง "จิตคือพุทธะ"
อันเป็นส่วนหนึ่งของ"คำสอนของฮวงโป"เช่นกัน
จิตหนึ่ง นี้เป็นสิ่งที่เห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่ลองไปใช้เหตุผล(ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น)
กับมันเข้าดูซิ
เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที
สิ่งนี้เป็นเสมือนกับความว่าง
อันปราศจากขอบทุกๆด้าน
ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง
หรือวัดได้" (จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม,
น.๔๒๓)
จิต
ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
ที่บ้างก็เรียกกันว่ามโน
บ้างก็เรียกว่าหทัย
บ้างก็เรียกว่ามนายตนะ บ้างก็เรียกว่ามนินทรีย์ บ้างก็เรียกว่าวิญญาณ ฯ. หลายท่านพยายามหาว่า จิตคืออะไร? เป็นอะไร? อยู่ที่ใด? บ้างก็ว่าเจตภูต บ้างก็ว่าปฏิสนธิวิญญาณที่ลอยละล่องท่องเที่ยวแสวงหาภพใหม่หรือที่เกิดบ้าง บ้างก็ว่ากายทิพย์ บ้างก็ว่าคือสมอง บ้างก็ว่าหัวใจ บ้างก็ว่าอยู่ที่กลางอก บ้างก็ว่าอยู่ที่กลางศูนย์กาย บ้างก็ว่ากลางหน้าผาก บ้างก็ว่าเกิดมาแต่ชาติปางก่อน ฯลฯ. ล้วนแล้วแต่ปรุงแต่งกันไปต่างๆนาๆ กล่าวคือเป็นไปตามความเชื่อที่ถ่ายทอดหรือสืบต่อกันมา หรือตามความเข้าใจของตัวของตน ตามอธิโมกข์ ฯ. จึงต่างล้วนตกลงสู่หลุมพรางของความผิดพลาด หรือมายาของจิตทันที จึงเป็นไปดังคำกล่าวข้างต้นที่หลวงปู่ดูลย์
อตุโลได้กล่าวไว้นั่นเอง
จิต นั้น ตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นสังขาร
อันคือสิ่งปรุงแต่งหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่ง
ที่เกิดขึ้นแต่มีเหตุมาเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้น
แล้วย่อมเป็นไปภายใต้กฎพระไตรลักษณ์ที่ว่า
ย่อมมีความไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ในที่สุด ไม่ใช่ตัวใช่ตน หรือไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริงเป็นอนัตตา
เพราะเกิดมาแต่การที่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยแก่กันและกันหรือมาประชุมกันชั่วขณะหนึ่งหรือระยะเวลาหนึ่ง
จึงเกิดจิตหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา ดังเช่น ตา กระทบ รูป
ย่อมเกิดจักขุวิญญาณขึ้นเป็นธรรมดา อันคือจิตหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
กล่าวคือเมื่อเกิดการกระทบกันของอายตนะภายนอกและภายในในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่
จิตหรือวิญญาณหนึ่งๆก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
แล้วตั้งอยู่อย่างแปรปรวน
แล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา
จิตจึงมีสภาพที่เกิดดับ เกิดดับๆๆ...เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา อันเป็นไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ นั่นเอง
ดังแสดงไว้ในชาติธรรมสูตร
ชาติธรรมสูตร
[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ
พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็นธรรมดาคืออะไรเล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส (ผัสสะ)
มีความเกิด (ของจิตหนึ่งขึ้น จึงเกิดเวทนาหนึ่งขึ้น) เป็นธรรมดา
กล่าวคือเกิดแต่เหตุปัจจัยดังนี้
(ตา
รูป จักษุวิญญาณ จักษุผัสสะ...เวทนาหนึ่งก็มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา)
(หู
เสียง โสตวิญญาณ
โสตผัสสะ...เวทนาหนึ่งก็มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา) ฯลฯ.
แม้สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็มีความเกิด (เวทนาดังกล่าวขึ้น) เป็นธรรมดา ฯลฯ.
(ตารูป
จักษุวิญญาณ จักษุผัสสะ เวทนา มีความเกิดเป็นสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง
อทุกขมสุขเวทนาบ้างเป็นธรรมดา ..ฯ)
ใจ ธรรมารมณ์
มโนวิญญาณ มโนสัมผัส (ผัสสะ) มีความเกิด (ของจิตหนึ่งขึ้น
จนเกิดเวทนาขึ้น) เป็นธรรมดา
(ใจธรรมมารมณ์เช่นคิด
มโนวิญญาณ มโนผัสสะ...จิตหนึ่งก็มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา).
แม้สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส(ข้างต้น)เป็นปัจจัย
ก็มีความเกิด (เวทนาขึ้น) เป็นธรรมดา
(ใจคิด มโนวิญญาณ
มโนผัสสะ เวทนามีความเกิดเป็นสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง
อทุกขมสุขเวทนาบ้างเป็นธรรมดา ...ฯ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่าย (นิพพิทา)
ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส
ทั้งในสุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์
ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส
ทั้งในสุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น